วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ดองดึง


ดองดึง

ชื่อวิทยาศาสร์ Gloriosa superba. ตระกูล LILIACEAEชื่อสามัญ ฺGloriosa, Glory, Climbing lily.

ลักษณะทั่วไป

ต้น ดองดึงเป็นพรรณไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นหรือเถาเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้ ๆ และสามารถเลื้อยเกาะต้นไม้อื่นได้สูงประมาณ 3 เมตร ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินมีลักษณะเด่น อย่างหนึ่งคือ บริเวณส่วนปลายของหัวจะมีจุดเจรญสำหรับต้นใหม่ ฉะนั้นจึงต้องระมัดระวัง อย่าให้ปลายของหัวหรือเหง้าหัก เพราะจะทำให้ต้นเสียหายและจะไม่งอกต่อไปได้ใบ ลักษณะของใบคล้ายรูปหสก ตรงปลายใบจะมีขอเกาะหรือหนวดสำหรับเกี่ยวพันกับต้นไม้ อื่น ตัวใบมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน ขอบใบไม่มีจัก ใบเรียบดอก ลักษณะของดอกจะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกจะแยกออกจากกันขอบของกลีบดอกบิดเป็น เกลียว มีเกสรแยกออกจากโคนกลีบดอกด้านนอกดอกหนึ่งจะมีเกสรประมาณ 6-7 อัน สี ของดอกจะมี 2 สี คือสีเหลืองและสีแดงสดปริมาณสีทั้งสองของดอกจะเปลี่ยนแปลงไปตาม อายุของการบานของแต่ละดอก ยิ่งดอกบานนานก็ยิ่งมีสีแดงมากขึ้นกว่าดอกตูมหรือดอกที่ เพิ่งบาน
ฤดูกาลออกดอก

จะออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดฝนจะให้ดอกดกมาก

การปลุก

ดองดึงมีวิธีการปลูกโดยการนำเอาเหง้าหรือหัว มาปลูกลงดิน โดยขุดหลุมปลูกกว้างลึกประมาณ6 x 6 นิ้ว แล้วผสมดินปลูกกับปุ๋ยหมักใส่ก้นหลุม จึงนำหัวหรือเหง้าดองดึงลงวาง แล้วกลบดินพอมิด รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 1 สัปดาห์ หัวหรือเหง้าดอกดึงก็จะแตกยอดอ่อน

การดูแลรักษา

แสง ดอกดึงเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี ทั้งในที่ที่มีแสงแดดจัด และแสงแดดร่มรำไรใต้ร่มเงา
น้ำ ชอบน้ำปานกลาง แต่การระบายน้ำจะต้องดี น้ำไม่ขังเพราะหากน้ำขังจะทำให้รากเน่า และ ทำให้เกิดความเสียหายแก่เถาดองดึงได้ดิน ดองดึงชอบขึ้นในดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี

โรคและแมลง

ไม่พบโรคและแมลงรบกวนถึงขั้นเสียหาย

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกเหง้า หรือโดยการแยกหัว

คัดเค้า


คัดเค้า

ชื่อวิทยาศาสร์ Randia siamensis Craib.ตระกูล RUBIACEAEชื่อสามัญ

ลักษณะทั่วไป

ต้น คัดเค้าเป็นพันธุ์ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย มีลำต้นเป็นเถาที่มีความแข็งแรงเป็นพันธุ์ไม้จำพวกเดียวกันกับ ตรุษจีน และเฟื่องฟ้า จะขึ้นพาดพันไปตามกิ่งไม้และต้นไม้อื่น หรือรั้วหลักที่อยู่ใกล้ ๆ ตามกิ่งก้าน และลำต้นจะมีหนามที่แหลมคมออกเป็นคู่ ๆ ลำต้นมีสีเขียวใบ ใบมีสีเขียวสดเป็นมัน ใบมีลักษณะยาว คล้ายกับใบมะม่วง มีแกนกลางใบอย่างเห็นได้ชัด ใบค่อน ข้างแข็งและหนาดอก มีดอกขนาดเล็ก สีขาว ดอกจะออกเป็นกระจุกอยู่บนก้านเดียวกัน หนึ่งดอกจะมี 5 กลีบ มีเสรสีเหลือง อ่อนติดอยู่ระหว่างกลีบดอก และเมื่อดอกร่วงก็จะติดผลสีดำ ลักษณะดอกจะคล้ายกับดอกส้ม หรือดอก มะนาว และจะมีกลิ่นหอม

ฤดูกาลออกดอก

คัดเค้าเป็นไม้ที่ให้ดอกตลอดปี และจะให้ดอกดกมากในช่วงฤดูฝน

การปลุก

คัดเค้ามีวิธีการปลูก โดยการนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ดมาปลูกลงดิน โดยให้ขุดหลุมกว้างลึกประมาณ1x1 ฟุต แล้ววางต้นกล้าพร้อมกับดินที่ติดมากับต้นกล้าทั้งหมดลงหลุมปลูก แล้วกลบดินปากหลุมให้แน่น รดน้ำพอชุ่มประมาณ 1 สัปดาห์ ต้นกล้าก็จะอยู่ตัว

การดูแลรักษา

แสง คัดเค้ามีความต้องการแสงในการสังเคราะห์อาหารมากพอสมควร ฉะนั้น จึงควรปลูกคัดเค้า ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องได้อย่างทั่วถึงน้ำ ควรให้น้ำปานกลาง วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น การรดน้ำแต่ละครั้งควรรดให้ชุ่ม แต่ต้องไม่ แฉะเพราะจะทำให้รากเน่าได้ดิน ดินที่จะคัดเค้า ควรเป็นดินร่วน ที่มีการระบายน้ำได้ดี มีส่วนผสมของปุ๋ยธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยหมักปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ผสมดินปลูก ใส่บริเวณโคนต้นหากใบมีอาการซีดเหลือง ก็ให้รด ด้วยยูเรีย สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ก็พอ

โรคและแมลง

มักจะไม่พบโรคและแมลงรบกวน

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ขจร


ขจร

ชื่อวิทยาศาสร์ Telosma minor., Craib.ตระกูล ASCLEPIAPACEAEชื่อสามัญ Cowslip creeper.

ลักษณะทั่วไป

ต้น ขจรเป็นไม้เลื้อยยืนต้น เนื้อแข็ง จะขึ้นพาดพันไปตามต้นไม้ใหญ่ได้ไกล ๆ ต้นหรือเถาของขจรมี ขนาดเล็ก แต่จะมีความเหนียวมาก ซึ่งสามารถใช้เถาขจรแทนเชือกได้ เถาขจรจะเป็นสีเขียวเถา แก่ก็จะเป็นสีน้ำตาลเถากลมเรียมใบ ขจรมักจะแตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ จนในบางครั้ง พุ่มใบจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ใบขจรจะเป็นสีเขียวอ่อน ใบบาง ก้านใบยาว ใบรูปใบโพธิ์ หรือรูปหัวใจ หรือคล้ายใบพลูขอบใบจะ เรียบ เกลี้ยงไม่มีจักจะเห็นเส้นใบชัด หน้าใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ดอก ขจรเป็นไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ห้อยเป็นกระจุกคล้ายพวงอุบะตามโคนก้านใบ ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกจะมีสีเขียวอมเหลือง หรือสีเหลือง กลีบดอกหนา เนื้อกลีบดอกจะมีลักษณะหยุ่น ๆ เมื่อดอกบานกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดาว 5 แฉก

ฤดูกาลออกดอก

ขจรจะออกดอกมากในช่วง ฤดูฝน

การปลูก

ขจรเป็นไม้กลางแจ้ง มีวิธีการปลูกโดยการนำกิ่งที่ได้จากการปักชำ หรือการทาบกิ่ง มาปลูกลงดินในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง หรืออาจเป็นริมรั้วก็ได้ เพื่อให้เถาขจรได้เลื้อยพาดกำแพงรั้วเพื่อการทรงตัว หรืออาจจะทำกำแพง ไม้ระแนงเพื่อให้เถาขจรเลื้อยพาดไปได้ เมื่อออกดอกก็จะแลดูสวยงามไปอีกแบบ

การดูแลรักษา

แสง ขจรเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด น้ำ ความต้องการน้ำของขจร จะไม่ต้องการน้ำมากนัก เพราะขจรสามารถที่จะทนต่อสภาพความ แห้งแล้งได้ดี การรดน้ำขจรให้รด 2 วัน ต่อ 1 ครั้ง ก็ยังได้ ดิน ขจรเป็นไม้ที่ไม่เลือกดิน และจะทนได้ในทุกสภาพดิน แต่ถ้าจะปลูกขจรให้เจริญงอกงามดี ก็ควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมาก ๆ ปุ๋ย ขจรเป็นไม้ที่ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก เนื่องจากขจรเป็นไม้ที่ทนได้ทุกสภาพดิน ฉะนั้นปุ๋ยที่มี อยู่แล้วในดิน กับการเพิ่มปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกลงในดินบริเวณโคนต้นบ้างก็จะดียิ่งขึ้น

โรคและแมลง

ขจรจะไม่มีโรคและแมลง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด


การเวค


การเวก

ชื่อวิทยาศาสร์ Artabotrys siamensis. Migตระกูล ANNONACEAEชื่อสามัญ


ลักษณะทั่วไป

ต้น การเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่จะมีมือเกาะรูปตะขอยื่นออกมาจากเถาเถาบริเวณ ยอดอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาลใบ การเวกจะมีพุ่มใบที่หนาแน่นมากเป็นไม้ใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็นรูปขอบขนาน หรือมนรี ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสัน พื้นใบสีเขียวเข้ม เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบ ใบเรียบไม่มีจักดอก ดอกการเวกจะออกตรงโคนต้นใบ ลักษณะดอกจะเป็นดอกเดี่ยวตรงโคนก้านดอกจะมีมือเกาะ ดอกเมื่อแรกออกจะเป็นสีเขียว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมี กลีบ ซึ่ง แบ่งเป็นชันชันละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง กลีบดอกมีลักษ ณะเป็นรูปรี มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดใน เวลาเย็นถึงค่ำ

ฤดูกาลออกดอก

การเวกจะออกดอกตลอดปี

การปลูก

การเวกมีวิธีการปลูกโดยการนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือกิ่งที่ได้จากการตอนมา ปลูกลงดิน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กิ่งตอนมากกว่าการเพาะเมล็ด เพราะจะทำให้ไม่ เสียเวลา การตอนกิ่งควรที่จะทำในช่วงฤดูฝน เมื่อกิ่งตอนงอกรากพอสมควร แล้วจึงตัดมาปลู

การดูแลรักษา

แสง การเวกเป็นไม้กลางแจ้งมีความต้องการแสงมากพอสมควร เหมาะที่จะปลูกริมรั้วบ้าน สวน ภายในบ้าน หรือสวนสาธาณะ เป็นต้นน้ำ ควรให้น้ำปานกลาง หากเป็นในระยะแรกปลูกให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่เมื่อ ต้นโตแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ก็ได้โดยรดในช่วงเช้า และควรรดให้ดินชุ่ม ดิน การเวกจะขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี ก็จะเจริญงอกงามได้ดียิ่งขึ้น ปุ๋ย การเวกเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก เพียงผสมปุ๋ยหมักกับดินปลูกก็เพียงพอแล้ว

โรคและแมลง

ไม่พบโรคและแมลงที่ทำความเสียหายมากนัก


การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

รางจืด


ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia Laurifolia Linn.
ตระกูล ACANTHACEAEชื่อสามัญ ฺBabbler's Bill Leaf.
ลักษณะทั่วไป ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยลำต้นหรือเถามีเนื้อแข็ง เถามีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม เลื้อยพาดไปตามกำแพง รั้ว แล้วจะทิ้งตัวห้อยเป็นระย้าลงสู่เบื้องล่าง ใบ รางจืดเป็นไม้ใบเดี่ยว ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่เรียวยาว ปลายใบ เรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ หรืออาจจะเป็นหยักเล็กน้อย ใบเกลี้ยงไม่ มีขน และใบที่อยู่ล่าง ๆ ก็มักจะใหญ่กว่าใบที่อยู่ถัดขึ้นไปดอก ออกดอกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ หรือตามข้อของลำต้น ช่อดอกหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 3-4 ดอก มีใบประดับสีขาวประด้วยสีแดงหุ้มดอกอยู่ มีกลีบดอกขนาดใหญ่ 5 กลีบ เป็นรูปฐาน ส่วน ดอกเป็นรูปแตร ดอกมีสีม่วงอ่อน สีฟ้า หรือสีขาว ภายในดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน
ฤดูกาลออกดอก
รางจืดจะออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
การปลูก
ปลูกโดยให้นำเอากิ่งที่ได้จากการปักชำ การตอน หรือต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด มาปลูกลงดินโดยให้ขุดหลุมปลูกมีความกว้างลึกประมาณ 1x1 ฟุต แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักประมาณ 1/4 ของหลุม กลบดินเล็กน้อย วางกิ่งปลูกหรือต้นกล้าลงกลางหลุม แล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำตามให้ชุ่มควรปลูกริมรั้วหรือกำแพง เพื่อให้เถารางจืดสามารถยึดเกาะและเลื้อยพาดไปได้
การดูแลรักษา
แสง รางจืดเป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดปานกลาง คือ ไม่ต้องการแสงแดดที่จัดมากเกินไป หากมีเงาไม้ อื่นมาบังบ้างก็ไม่เป็นไร
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง ในระยะแรกปลูกต้องรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อต้นโตแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้าดิน เป็นไม้ที่ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่เลือกดินปลูก
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใส่บริเวณโคนต้นปีละ 2 ครั้ง โดยการพรวนดินโคนต้นให้ร่วนเสียก่อน จึงใส่ปุ๋ย แล้วรดน้ำตาม
โรคและแมลง
ไม่มีโรคและแมลงที่สำคัญ
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด